วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเทศอินโดนีเซีย

ธงประจำชาติ

ตราสัญลักษณ์

ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ ห้าเกาะ และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ ๓๐ หมู่เกาะ รวมแล้วมีอยู่ ๑๓,๖๗๗ เกาะ เป็นเกาะที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ ๖,๐๐๐ เกาะ รูปลักษณะหมู่เกาะจะวางตัวยาวไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร คล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหงาย
อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีพื้นน้ำใหญ่เป็นสี่เท่าของพื้นที่แผ่นดิน อาณาเขตจากตะวันออกไปตะวันตก ยาวประมาณ ๕,๑๐๐ กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลเมตร 

                 ลักษณะภูมิประเทศ            
         หมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้สามส่วนคือ
                   ส่วนที่ ๑  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซุนดา ได้แก่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา และเกาะกาลิมันตัน กับร่องน้ำระหว่างเกาะต่าง ๆ เหล่านี้กับฝั่งทะเลของประเทศมาเลเซีย และอินโดจีน มีระดับน้ำลึกไม่เกิน ๗๒๐ ฟุต
                    ส่วนที่ ๒  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซาฮูลคือเกาะอีเรียนจายา และเกาะอารู มีอาณาเขตจากฝั่งทะเลออสเตรเลียทางเหนือ ระดับน้ำลึกไม่เกิน ๗๐๐ ฟุต

                    ส่วนที่ ๓  บริเวณพื้นที่ระหว่างบริเวณไหล่ทวีปซุนดา และไหล่ทวีปซาฮูล ได้แก่ บริเวณหมู่เกาะนูซาแตงการา มาลูกู สุลาเวสี มีความลึกของระดับน้ำถึง ๑๕,๐๐๐ ฟุต                 

เพิ่มคำอธิบายภาพ

ประชากร
ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมาเลย์ ประมาณร้อยละ ๙๕ ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และชาวยุโรป แต่ถ้าแบ่งตามหลักฐานชาติวงศ์วิทยาแล้ว ถือว่าชาวอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดมาจาก ๓๖๕ เชื้อชาติ
การแต่งกาย  เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายจึงโน้มน้าวไปตามประเพณีของศาสนา
                   
ผู้ชาย  จะนุ่งโสร่ง สวมเสื้อคอปิด แขนยาว สวมหมวกรูปกลม หรือหมวกหนีบ ทำด้วยสักหลาดสีดำ บางครั้งจะนุ่งโสร่งทับกางเกง ประมาณครึ่งตัว โดยปล่อยให้เห็นขากางเกง ในกรณีที่ต้องเข้าพิธี อาจจะมีการเหน็บกริชด้วย ปัจจุบันผู้ชายอินโดนีเซียส่วนใหญ่นิยม แต่งกายแบบสากล แต่ยังคงสวมหมวกแบบเดิม

                   
ผู้หญิง  จะใช้ผ้าไคน์ พันรอบตัว และใช้นุ่งอยู่กับบ้านเท่านั้น ผ้าไคน์จะมีลวดลายสวยงามมาก เนื้อดีและราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า ผ้าปาติค (Patik) เวลานุ่งจะต้องให้ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ เรียกว่า เคบาจา (Kebaja) เป็นเสื้อที่รัดติดกับตัว แขนยาว สำหรับผู้หญิงชาวเกาะสุมาตรา นิยมสวมเสื้อหลวม ลำตัวยาวเกือบถึงเข่า เรียกว่า บัตยูกรุง และใช้ผ้าห่มพาดไหล่ข้างหนึ่งด้วย

ประเทศฟิลิปปินส์


ธงประจำชาติ

ตราสัญลักษณ์



ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ ๗,๑๐๐ เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะบอร์เนียว และอยู่ทางใต้ของเกาะไต้หวัน หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ของทวีปเอเซียประมาณ ๙๗๐ กิโลเมตร

ประชากร

   ชาวเกาะฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาคล้ายพวกมองโกล ผสมผสาน มีผิวสีน้ำตาล แต่บางพวกก็มีผิวค่อนข้างขาว การที่ชาวฟิลิปปินส์มีลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นผล สืบเนื่องมาจากความซับซ้อนของเผ่าพันธุ์ อันเกิดจากการผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติต่างๆ

ภาษา 
      จากความซับซ้อนของประวัติความเป็นมาและเชื้อชาติ ทำให้ฟิลิปปินส์มีภาษาพูดในปัจจุบันมากกว่า ๑๐๐ ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่มีรากเง้ามาจากภาษามาเลย์ 
     
ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาตากาลอก (Tagalog) ซีบูโน (Cebuno) โอลอนโก (Ilongo) วาเรย์ - วาเรย์ (Waray - Waray) อิโลคาโน (Ilocano) ปามปันโก (Pampanco) และไบกอล ( Bikol)


 ศาสนา 
     ชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เรียกว่า Bathalang Majkapall  เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่น ๆ อีกมาก ที่มีอำนาจรองลงมา
     คนพื้นเมือง จะมีพิธีทางศาสนาด้วยการสวดมนต์ และบูชายัญต่อเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีนักบวชของนิกายนั้น ๆ เป็นผู้ทำพิธี
การเมืองและการปกครอง
    
แต่เดิมฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบประธานาธิบดี ต่อมาได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกำหนดให้ฟิลิปปินส์เป็นสาธารณรัฐ มีระบบการปกครองแบบรัฐสภา ประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ และต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ ในขณะดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฟิลิปปินส์ที่ร่างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ และประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
การแต่งกาย
เครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรด นุ่งกางเกง แบบสากล


กัมพูชา

ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

ธงชาติกัมพูชา

ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา
                      (Kingdom of Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 – 36
                     องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาเขมรเป๋นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป
            ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท
สกุลเงิน : เงินเรียล
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์ 
                                    เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ




บรูไน

 ประเทศบรูไนดารุสซาลาม

 (State of Brunei Darussalam)




ที่ตั้ง อาณาเขต บรูไน (Brunei) หรือ รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้  ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้

ขนาดพื้นที่  บรูไนมีขนาดพื้นที่  5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait,  Temburong  และ Tutong

ลักษณะทางภูมิประเทศ  บรูไนอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ดิน แดนของบรูไนถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีพื้นที่ของรัฐซาราวักของมาเลเซียกั้นไว้เป็นภาคตะวันออก และตะวันตก แม้จะเป็นดินแดนเล็กๆแต่ก็ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย เนื่องจากมีทรัพยากรน้ำมันอยู่มาก ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบ หุบเขาซึ่งเป็นดินตะกอนที่แม่น้ำพัดมาทับถม บริเวณที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเข้าไปภายในเกาะ ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา ดินแดนทางภาคตะวันออกมีลักษณะขรุขระและสูงกว่าตะวันตก

 ภูมิอากาศ  ในประเทศบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกเกือบตลอดปี อุณหภูมิประมาณ 24 -32 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เขตร้อน อุดมด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ประชากร ประชากร 300,000 คน

ภาษา บรูไนใช้ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ  ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย

                                      


วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมียนม่าร์ (Myanmar)


เมียนม่าร์ (Myanmar)
ธงชาติ
ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ  ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์
ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน

ทางตะวันออกติดกับลาว
ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย
ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย
ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่ 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
ตราสัญลักษณ์
เมืองหลวง : เนปิดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปิตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี)  เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548  ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์  สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ  เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง  เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร  ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ  เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์  ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย  เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
ประชากร  ประมาณ 56 ล้านคน  (พ.ศ.2548)  มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบ ด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68)  ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8)  กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7)  ยะไข่ (ร้อยละ 4)  จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2)  อินเดีย (ร้อยละ 2)
ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน  ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก  ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน  ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก
ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90  ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5  ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8  ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05
สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)
ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร  ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)
ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ประมุขประเทศ) คือ
พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)
นายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) คือ พล.อ.เทียน เส่ง (Gen. Thein Sein) นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า (พ.ศ. 2550)

 แนะนำประเทศเมียนมาร์
ที่มา : www1.mod.go.th/admm/aseancountry_thai.pdf

ประเทศไทย (Thailand)

ประเทศไทย (Thailand)
ประเทศไทย
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
ตราแผ่นดิน


พื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)

ประชากร : 64.7 ล้านคน (2551)

ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน

ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ

ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว้ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม  ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง  ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)

ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 * พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช
บรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej)
* นายกรัฐมนตรี คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร




ประวัติศาสตร์ชาติไทย

ที่มา : www1.mod.go.th/admm/aseancountry_thai.pdf

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเทศมาเลเซีย(Malaysia)

ประเทศมาเลเซีย(Malaysia)

ธงชาติมาเลเซีย
ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
พื้นที่ 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
ตราประจำชาติมาเลเซีย

ธงชาติ: ธงชาติมาเลเซียหรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ยาลูร์ เกมิลัง" ("Jalur Gemilang" มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"
  • แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
  • ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
  • พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
  • สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย


แผนที่ประเทศมาเลเซีย
ประชากร : 26.24 ล้านคน (ปี 2549)  ประกอบด้วย  ชาวมาเลียกว่า 40%  ที่เหลืออีกกว่า 33% เป็นชาวจีน
อีก 10% เป็นชาวอินเดีย  อีก 10% เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว  อีก 5% เป็นชาวไทยและอื่นๆอีก 2%

ภาษา: มาเลย์ (Bahasa Malaysian เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีนทมิฬ

ศาสนา: อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์(ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่นๆ(ร้อยละ 2.5)

สกุลเงิิน: ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 9.25 บาท/ ริงกิต  (ขาย) 10 บาท/ริงกิต (มกราคม 2552)

ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)


   ประมุข คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ไมซาน ไซนัล อะบีดิน (พระนามเต็ม: อัล วาติกูรบิลลาห์ ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบิดีน อิบนี อัลมาร์ ฮุม สุลต่าน มาหมัด อัล มัคตาฟ์ บิลลาห์ ชาห์ ภาษาอังกฤษ : DYMM Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah)  จากรัฐตรังกานู  ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย  (ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)
นายกรัฐมนตรี คือ นาจิบ ราซัค


มารู้จักประเทศมาเลเซียกันเถออะ





ที่มา: www1.mod.go.th/admm/aseancounty_thai.pdf