วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเทศฟิลิปปินส์


ธงประจำชาติ

ตราสัญลักษณ์



ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ ๗,๑๐๐ เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะบอร์เนียว และอยู่ทางใต้ของเกาะไต้หวัน หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ของทวีปเอเซียประมาณ ๙๗๐ กิโลเมตร

ประชากร

   ชาวเกาะฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาคล้ายพวกมองโกล ผสมผสาน มีผิวสีน้ำตาล แต่บางพวกก็มีผิวค่อนข้างขาว การที่ชาวฟิลิปปินส์มีลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นผล สืบเนื่องมาจากความซับซ้อนของเผ่าพันธุ์ อันเกิดจากการผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติต่างๆ

ภาษา 
      จากความซับซ้อนของประวัติความเป็นมาและเชื้อชาติ ทำให้ฟิลิปปินส์มีภาษาพูดในปัจจุบันมากกว่า ๑๐๐ ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่มีรากเง้ามาจากภาษามาเลย์ 
     
ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาตากาลอก (Tagalog) ซีบูโน (Cebuno) โอลอนโก (Ilongo) วาเรย์ - วาเรย์ (Waray - Waray) อิโลคาโน (Ilocano) ปามปันโก (Pampanco) และไบกอล ( Bikol)


 ศาสนา 
     ชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เรียกว่า Bathalang Majkapall  เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่น ๆ อีกมาก ที่มีอำนาจรองลงมา
     คนพื้นเมือง จะมีพิธีทางศาสนาด้วยการสวดมนต์ และบูชายัญต่อเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีนักบวชของนิกายนั้น ๆ เป็นผู้ทำพิธี
การเมืองและการปกครอง
    
แต่เดิมฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบประธานาธิบดี ต่อมาได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกำหนดให้ฟิลิปปินส์เป็นสาธารณรัฐ มีระบบการปกครองแบบรัฐสภา ประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ และต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ ในขณะดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฟิลิปปินส์ที่ร่างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ และประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
การแต่งกาย
เครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรด นุ่งกางเกง แบบสากล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น